BCNPB Project

โครงการวิจัยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทางเลือกบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องด้านการพูด

Register

About BCNPB project

BCNPB project โครงการวิจัยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทางเลือกบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องด้านการพูด

BCNPB project

นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พัฒนาเพื่องานวิจัย

BCNPB project

  • เพื่อผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปเป็นแนวทางปรับปรุงและพัฒนาแอพพลิเคชั่นทางเลือกสำหรับบุคคลที่บกพร่องด้านการพูด ให้สามารถสื่อสารได้ตรงตามความต้องการได้อย่างมมีประสิทธิภาพ ในระดับสูงมากยิ่งขึ้น
  • เพื่อทำให้หน่วยบริการสุขภาพมีแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการพูดเพิ่มมากขึ้น และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูด รวมทั้งเกิดผลกระทบต่อญาติ และสังคมลดลง
  • เพื่อให้หน่วยบริการสุขภาพนำแอพพลิเคชั่นเป็นทางเลือกในการสื่อสารของผู้ที่มีความบกพร่องด้านการพูด และสามารถสื่อสารกับพยาบาลได้และได้รับการตอบสนองความต้องการซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
    • Smartphone & Application
    • Tablet
    • Dispatch Center
    • Medication & Nursing

    ...

    Product Featuress

    หมวดความเจ็บปวด

  • ปวด : ปวดท้อง ปวดขา ปวดข้อมือ ปวดตา ปวดหน้าอก ปวดเท้า ปวดหลัง ปวดตามข้อ ปวดแผลผ่าตัด
  • ระดับความปวด : 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
  • การหายใจ : หายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจไม่ออก อึดอัด แน่นหน้าอก เสมหะมากในคอ เจ็บคอ
  • การคัน : คันหลัง คันแขน คันขา คันคอ คันที่แผลผ่าตัด
  • เจ็บที่อื่นๆ : เจ็บจมูกที่ใส่สาย เจ็บแผลในปาก เจ็บตรงที่สวนปัสสาวะ ท้องผูก แน่นท้อง
  • หมวดความต้องการ

  • ห้องน้ำ : ปวดปัสสาวะ ปวดอุจจาระ ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ เช็ดตัว สระผม โกนหนวด ตัดผม
  • คนที่อยากพบ : แพทย์ พ่อ แม่ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ลูกพี่ลูกน้อง สามี ภรรยา ลูก เพื่อน
  • จัดสิ่งแวดล้อม : พลิกตัว นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา นอนหงายราบ นอนคว้ำ ไขหัวสูง ไขหัวลง ลุกนั่ง ปิดไฟ เปิดไฟ หนาว ร้อน
  • ความรู้สึก

  • คิดถึง : คิดถึงบ้าน คิดถึงคนที่บ้าน คิดถึงสัตว์เลี้ยง เป็นห่วง - ห่วงคนที่บ้าน ห่วงงาน ห่วงบ้าน ห่วงสมบัติ ห่วงสัตว์เลี้ยง ความรู้สึกอื่นๆ -อยากฟังพระเทศน์ อยากทำบุญตักบาตร หรือทำพิธีทางศาสนา อยากฟังเพลง อยากให้ญาติอยู่ดูแล
  • ความไม่สบายใจ / กังวลใจ อยากให้ช่วย : อยากบริจาคเงินทำบุญ อยากบริจาคให้โรงพยาบาล ไม่อยากเซ็นชื่อให้ใคร ไม่อยากให้สมบัติใคร กลัวเป็นภาระค่าใช้จ่าย เรื่องค่ารักษาครั้งนี้
  • สิ่งที่อยากบอก

  • สิ่งที่อยากพูดกับแพทย์: อาการของฉันเป็นอย่างไร เมื่อไหร่จะได้ออกจากไอซียู อยากย้ายไปห้องพิเศษ เมื่อไหร่จะได้กลับบ้านอยากเอาท่อหายใจออก เมื่อไหร่จะหาย ขอบคุณมากที่ดูแล
  • สิ่งที่อยากพูดกับพยาบาล : เมื่อไหร่หมอจะมา วันนี้วันที่เท่าไหร่/วันอะไร กี่โมงแล้ว ตอนนี้กลางวันหรือกลางคืน เมื่อไหร่จะกินได้ อยากกินเอง ไม่อยากให้มัดมือ ขอยาแก้ปวด
  • ความเป็นมาและความสำคัญ

    ผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักส่วนใหญ่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ

    เพื่อเปิดทางเดินหายใจ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้เองหรือมีภาวะการหายใจล้มเหลว เพื่อเป็นการช่วยหายใจหรือป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นและใช้ร่วมกับเครื่องช่วยหายใจ (Silva, Fonseca, Anesth Analg, 2012) ผู้ป่วยประเภทดังกล่าวมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 22-75 (Stacy, 2010)

    ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจทำให้การสื่อสารมีความยากลำบาก มีความบกพร่องทางการพูด ไม่สามารถพูดคุยให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ต้องการได้ เนื่องจากท่อช่วยหายใจที่ใส่จะผ่านสายเสียง (Vocal cord) ที่กล่องเสียง และปลายท่อจะอยู่ในหลอดลม ทำให้ขัดขวางการกระทบสายเสียงของลมหายใจออกทำให้ไม่มีเสียงพูด (พจนา ปิยะปกรณ์ชัย, 2553)

    Individuals with Disabilities Education Improvement Act (IDEA, 2004)

    ให้ความหมายว่า ความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง ความบกพร่องทางการสื่อสาร ได้แก่ การพูดติดอ่าง มีความบกพร่องในการเปล่งเสียงโดยใช้อวัยวะที่เกี่ยวข้อง มีความบกพร่องในการเข้าใจ

    การใช้ภาษา หรือมีความบกพร่องในการออกเสียงพูด สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ กำหนดความหมายของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูด คือผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจที่มีระดับความรู้สึกตัวโดยใช้ Glasgow Coma Scale ในการประเมินอยู่ในระดับ E4VTM5 และ E4VTM6 รวมทั้งไม่สามารถพูดได้และไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้

    การที่บุคคลมีความบกพร่องทางการพูดไม่สามารถบอกความคิด ความรู้สึกหรือความต้องการของตนเองได้ ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านจิตใจและอารมณ์ โดยจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองขาดอิสรภาพในการหายใจ การกิน การติดต่อสื่อสาร ไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้ด้วยวาจา

    จากการศึกษาพบว่าความต้องการสูงสุด

    เป็นอันดับแรกคือต้องการการช่วยเหลือให้ได้รับสารนํ้าอย่างเพียงพอ รองลงมา ได้แก่ความต้องการให้แพทย์หรือพยาบาลดูแลจัดการอาการปวด เพื่อบรรเทาอาการปวด

    ความต้องการตํ่าสุดคือความต้องการช่วยเหลือในการดูดเสมหะ ขับเสมหะ การไอ และการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการรักษาพยาบาล (ศิริรัตน์ วิชิตตระกูลถาวร, กานดา อิ่มสงวน และกนกพร สุคำวัง, 2556) และจากการศึกษาในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการพูดจำนวน 66 คนในประเทศอินเดีย พบว่าผู้ป่วยจะไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเพราะขาดความมั่นใจในการสื่อสารถึงแม้ว่าจะสามารถออกเสียงได้ก็ตาม ทำให้มีการแยกตัวออกจากสังคม (Charkaborty et al, 2008)

    ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ด้านลบ มีความรู้สึกอึดอัด เครียด หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย ท้อแท้ หมดกำลังใจ กังวลและกลัวตาย ซึ่งอาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน (Unplanned Extubation: UE) อาจเกิดจากผู้ป่วยดึงออกเอง (Self-extubation) หรือเกิดจากอุบัติเหตุ (Accidental extubation)

    Call To Action

    ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่สำคัญและยิ่งใหญ่ โดยการดาวน์โหลด แอพพลิเคชั่น BCNPB แอพพลิเคชันทางเลือกที่พัฒนาขึ้นนำไปใช้บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูด เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการพูดสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการตอบสนองตรงกับความต้องการ อันจะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต่อไป

    แบบสอบถาม

    About Project/App

    ทานสามารถลงทะเบียนเพื่อดาวน์โหลดแอพ BCNPB ได้ ตามรายละเอียด

    Our Coach

    ทีมพัฒนาระบบ BCNPB

    ปัฐยาวัชร ปรากฎผล

    Teacher

    วรวิทย์ ชัยพรเจริญศรี

    Teacher

    Our Team

    ทีมพัฒนาระบบ BCNPB

    กาญจนาวดี ศรีอุดร

    Developer

    รวิษฎา แสนโคตร

    Developer

    ชวัลลักษณ์ บูรพันธ์

    Developer

    พรรณทิพย์ จำนงค์เวช

    Developer

    BCNPB Project

    โครงการวิจัยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทางเลือกบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องด้านการพูด ผลงานของนักศึกษาพยาบาล จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

    BCNPB เลขที่ 91 หมู่ 8
    ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120

    Saprabat@gmail.com 582501055@bcnpb.ac.th 582501011@bcnpb.ac.th 582501025@bcnpb.ac.th

    Phone Number 036-266170 Fax 036-26704

    Your message has been sent. Thank you!